ในการที่เราจะออกไปท่องเที่ยวนอกประเทศ เราจะขาดสิ่งสำคัญที่สุดในการเดินทางไม่ได้เลยละค่ะ นั่นก็คือ พาสปอร์ต หรือ หนังสือเดินทางนั่นเอง |
ความหมายของพาสปอร์ต (หนังสือเดินทาง) |
หนังสือเดินทางไทย (Thai passport) เป็นหนังสือเดินทางที่ออกให้เฉพาะประชาชนไทย โดยกองหนังสือเดินทางกระทรวงการต่างประเทศ สามารถออกในประเทศไทยโดย หน่วยงานในสังกัด กองหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศ บางกรณีอาจจะออกได้ที่ สถานเอกอัครราชทูตในต่างประเทศ หรือสถานกงสุลไทยทั้ง 86 แห่ง |
|
ลักษณะของพาสปอร์ต (หนังสือเดินทาง) |
หนังสือเดินทางประเทศไทยสำหรับประชาชนทั่วไปรุ่นปัจจุบันจะมีสีแดงเลือดหมูโดยมีตราครุฑอยู่ตรงกลางที่ปกด้านหน้า และคำว่า “หนังสือเดินทาง ประเทศไทย” (อยู่ต่างบรรทัดกัน) อยู่ด้านบนสุด ส่วนคำว่า “THAILAND PASSPORT” (อยู่ต่างบรรทัดกัน) อยู่ใต้ตราครุฑ ด้านล่างสุดจะเป็นสัญลักษณ์ของหนังสือเดินทางที่มีข้อมูลทางชีวภาพ (biometric passport) อักษรและสัญลักษณ์ที่หน้าปกเป็นสีทอง |
ขนาด : หนังสือเดินทางมีขนาดกว้าง 8.5 เซนติเมตร ยาว 12.5 เซนติเมตรมีจำนวนหน้าทั้งหมด 50 หน้า ข้อมูลภายในเล่ม : ข้อมูลจำเพาะผู้ถือหนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางประเทศไทยจะมีข้อมูล 2 ภาษา เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังต่อไปนี้ |
- รหัส (Type) ‘P’ อักษรย่อสำหรับคำว่า “Passport”
- ประเทศ (Country code) “THA” สำหรับประเทศไทย
- หนังสือเดินทางเลขที่ (Passport No.) มีรูปแบบเป็น A123456 (ตัวอักษรหนึ่งตัวตามด้วยตัวเลขหกหลัก)
- นามสกุล (Surname) เป็นภาษาอังกฤษ
- คำนำหน้าชื่อ ชื่อ (Title Name) เป็นภาษาอังกฤษ
- ชื่อภาษาไทย (Name in Thai) ประกอบด้วยคำนำหน้า ชื่อ และนามสกุลเป็นภาษาไทย
- สัญชาติ (Nationality) “THAI” สำหรับประชาชนไทย
- วันเกิด (Date of birth) ในรูปแบบ DD-MMM-YYYY (วัน เดือน ปีค.ศ.) เช่น 20 NOV 2006
- เลขประจำตัวประชาชน (Personal No.)
- เพศ (Sex) “M” สำหรับบุรุษ หรือ “F” สำหรับสตรี
- ส่วนสูง (Height) หน่วยเป็นเมตร
- สถานที่เกิด (Place of birth) โดยทั่วไปจะเป็นจังหวัดที่เกิด
- วันที่ออก (Date of issue) ในรูปแบบเดียวกับวันเกิด
- วันที่หมดอายุ (Date of expiry) ในรูปแบบเดียวกับวันเกิด โดยจะหมดอายุในอีก 5 ปีให้หลัง
- ออกให้โดย (Authority) โดยทั่วไปจะเป็น “MINISTRY OF FOREIGN AFFAIR”
- ลายมือชื่อผู้ถือหนังสือเดินทาง (Signature of bearer)
|
|
ประเภทของพาสปอร์ต (หนังสือเดินทาง) |
หนังสือเดินทางประเทศไทยในปัจจุบันมี 4 ประเภท ดังนี้ 1. หนังสือเดินทางธรรมดา (หน้าปกสีแดงเลือดหมู) ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี 2. หนังสือเดินทางราชการ (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม) หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว โดยมีข้อกำหนดออกเฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติ 3. หนังสือเดินทางทูต (หน้าปกสีแดงสด) ประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้ |
- พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
- พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
- ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
- นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
- ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
- ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
- ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
- อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
- ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
- ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
- คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 2-8
- บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย
|
4. หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว) |
นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ |
- หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม
- หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น
|
|
ขั้นตอนการยื่นขอ หนังสือเดินทางใหม่ |
ขั้นตอนที่ 1 รับบัตรคิว |
ขั้นตอนที่ 2 ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลักหากไม่มีเลข 13 หลัก ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดงพร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ๆ เพื่อตรวจสอบข้อมูล |
ขั้นตอนที่ 3 – เก็บข้อมูลชีวภาพ(วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ขวาและนิ้วชี้ซ้ายด้วยเครื่องสแกนข้างละ 2 ครั้ง และถ่ายรูป 2 ครั้ง) – แจ้งความประสงค์ที่จะขอรับเล่มทางไปรษณีย์ |
ขั้นตอนที่ 4 ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท และค่าส่งไปรษณีย์ (35 บาท) รับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่มท่านจะได้รับหนังสือเดินทาง ดังนี้ |
- หากยื่นที่กรมการกงสุล ผู้ร้องสามารถรับหนังสือเดินทางได้ 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง
- หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ
- หากยื่นที่สำนักงานสาขาในกรุงเทพฯ (ปิ่นเกล้าและบางนา) ผู้ร้องจะได้รับเล่มภายใน 3 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง
- หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ
- กรณียื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัดและขอให้จัดส่งทางไปรษณีย์ผู้ร้อง (ในเขตเมือง) จะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 5 วันทำการ
- หากยื่นที่กรมการกงสุล ผู้ร้องสามารถรับหนังสือเดินทางได้ 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง
|
โดยที่กระทรวงฯ ได้ติดตั้งเครื่องอ่านหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จำลองเพื่อผู้ร้องสามารถทดสอบการผ่านเข้า-ออกท่าอากาศยานโดยอัตโนมัติไว้ 1 เครื่อง ที่กรมการกงสุล ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มารับเล่มด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ถือหนังสือเดินทางมีความคุ้นเคยกับการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบตรวจคนเข้าเมืองอัตโนมัติ |
ในกรณีจำเป็น อาจมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทนหรืออาจร้องขอให้จัดส่งทางไปรษณีย์ (EMS) |
การให้ผู้อื่นรับ หนังสือเดินทาง แทน ผู้ที่ยื่นคำร้องที่ไม่สามารถมารับหนังสือเดินทางเอง สามารถให้ผู้อื่นมารับแทนได้ โดยนำใบรับหนังสือเดินทางและบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้ขอหนังสือเดินทาง และบัตรประชาชนของผู้รับแทน พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับแทน 1 ชุด เพื่อเป็นหลักฐานการรับหนังสือเดินทาง |
|
หน่วยงานในสังกัด กองหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศ |
กรุงเทพ |
กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ อาคารกรมการกงสุล 123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร. 0-2981-7171-99 โทรสาร. 0-2981-7256 |
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา ศูนย์การค้าเซ็ลทรัลซิตี้ บางนา บริเวณลานจอดรถ ชั้น P9 โทร.0-2383-8401-3 โทรสาร 0-2383-8398 |
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ชั้น 8 ถนนบรมราชชนนี โทร. 0-2884-8831 , 0-2884-8838 โทรสาร 0-2884-8825 |
|
จังหวัดเชียงใหม่ |
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0-5389-1535-6 โทรสาร 0-5389-1534 |
|
จังหวัดสงขลา |
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวจังหวัดสงขลา . ศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังเก่า) ชั้น 1 ถนนราชดำเนิน อ.เมือง จ.สงขลา 9000 โทรศัพท์ 0-7432-6510-1 โทรสาร 0-7432-6506 |
|
จังหวัดขอนแก่น |
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวจังหวัดขอนแก่น ศูนย์ราชการ จังหวัดขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ โทรศัพท์ 0-4324-2707, 0-4324-3462, 0-4324-2655 โทรสาร 0-4324-3441
By : GURU เที่ยวฮ่องกง |