|
|
1. ภารกิจฝนหลวง ภารกิจเหนือเมฆที่การบินไทยถือเป็นเกียรติและภาคภูมิใจอย่างยิ่งคือ โครงการฝนหลวง ที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2542 สำนักงานกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ได้ประสานกับนายดิสธร วัชโรทัย ผู้อำนวยการกองงานส่วนพระองค์พระราชว้ังดุสิต เรื่องถ่ายภาพกลุ่มเมฆ โดยส่งช่างภาพขึ้นถ่ายภาพครั้งแรกในวัีนที่ 28 มกราคม 2542 ใช้กล้องถ่ายภาพขนาด 133 มม. บันทึกภาพตลอดเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ บนเครื่องบินทีจี 100 จากนั้นได้นำภาพขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านรับสั่งผ่านผู้ถวาายรายงานว่า “ฝากบอกช่างภาพด้วยว่าถ่ายเฉพาะก้อนเมฆ หมอกแดดไม่ต้องถ่าย” เที่ยวต่อไปจึงใช้กล้องถ่ายภาพดิจิทัลแทน จึงสามารถบันทึกภาพก้อนเมฆได้ตามพระราชประสงค์ |
|
2. สัญลักษณ์ลอยฟ้า เบื้องหลังตราสัญลักษณ์ของการบินไทยที่ทุกคนเรียกติดปากว่า “ดอกจำปี”นั้น จริงๆแล้วคือ “ใบเสมา” ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบของบริษัทโฆษณาชื่อดังระดับโลกชื่อ วอลเตอร์แลนเดอร์แอนด์เอสโซซิเอส (Walter Landor and Associates) ที่ส่งนายปีเตอร์ แมคโดนัลด์ (Mr. Peter McDonald) เข้ามาสำรวจรวบรวมวัตถุดิบในเมืองไทยจากเหนือจรดใต้ จนออกมาเป็นตราสัญลักษณ์อย่างในปัจจุบัน โดยแต่ละลายเส้นได้แรงดลใจมาจากใบเสมาเมื่อตะแคงข้างลงจะหมายถึงความเร็วที่พุ่งขึ้นตรงไปในท้องฟ้า ผสานกับสีทองแห่งความเรืองรองของวัดวาอารามเมืองไทย รวมกับสีม่วงสดของกล้วยไม้ และสีชมพูจากสีของดอกบัว |
|
|
|
3. พัฟฟ์แอนด์พายขนมกู้วิกฤติ ความอร่อยที่สร้างรายได้ให้การบินไทยเป็นกอบเป็นกำในทุกวันนี้ใครจะคาดคิดว่า จริงๆแล้วเป็นเพียงขนมที่สร้างรายได้เสริมในยุคเศรษฐกิจฟองสบู่แตกเมื่อปี 2540 จากการร่วมแรงร่วมใจของพนักงาน ทั้งเป็นผู้ขายและผู้ซื้อกระตุ้นยอด จากที่หวังแค่วันละ 5,000 บาท กลายเป็นไม่พอขาย จนต้องเปิดร้านเป็นจริงเป็นจัง และขยายไปทั้งหมด 32 สาขาทั่วประเทศ นอกจากนั้นยังแตกไลน์ระดับพรีเมียมขึ้นเป็น “พัฟฟ์แอนด์พาย ซูพรีม เบเกอรี่ ดีไลท์” |
|
4. ความบันเทิงร้อยล้าน เบื้องหลังเบาะเครื่องบินของการบินไทยทุกที่นั่งที่อัดแน่นอยู่ด้วยความบันเทิงหลายหลายสไตล์ มีมูลค่าสูงถึงกว่า 900 ล้านบาทต่อปี เพื่อให้ผู้โดยสายหายเบื่อกับรายการเพลงกว่า 100 อัลบั้ม กับอีกกว่า 30 โปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ รวมถึงรายการระบบ AVOD ที่สามารถกำหนดได้มากกว่า 44 ช่อง ทั้งสารคดี ข่าว กีฬา ศิลปวัฒนธรรม รายการสำหรับเด็ก รวมถึงรายการยอดนิยมของไทย ที่สามารถเลือกรับชมได้หลากหลายภาษา |
|
|
|
5. เหินฟ้ารับช่วงช่วงกับหลินฮุ่ย ย้อนหลังกลับไปเมื่อ 6 ปีที่แล้ว เมือวันที่ 10 ตุลาคม 2546 การบินไทยได้รับมอบหมายให้ไปรับแพนด้า “ช่วงช่วง” กับ “หลินฮุ่ย” จากเมืองจีน ถือเป็นเที่ยวบินพิเศษเพราะต้องจัดห้องขนส่งพิเศษ ปรับอุณหภูมิให้อยู่ที่ 16-18 องศาเซลเซียส ให้เหมือนสภาพอากาศที่ช่วงช่วงกับหลินฮุ่ยคุ้นเคยขาไปรับมีแต่เครื่องบินเปล่า ส่วนขากลับต้องมีผู้ใหญ่และผู้โดยสารวีไอพีนั่งมาด้วย เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนหรือทำให้สองแพนด้าที่อยู่ใต้ท้องเครื่องบินบริเวณโซนชั้นธุรกิจด้านหน้าตกใจ แขกวีไอพีถึงกับต้องยอมเสียสละมานั่งชั้นประหยัด |
|
6. เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของสตาร์อัลไลแอนซ์ จุดเริ่มต้นของเครือข่ายการบินที่ยิ่งใหญ่และแข็งแกร่งที่สุดในโลก เกิดจากการเจรจานอกกรอบของคุณธรรมนูญ หวั่งหลี ประธานการบินไทย กับผู้บริหารระดับสูงของยูไนเต็ดแอร์ไลน์สและลุฟฮันซ่า ในระหว่างการประชุม IATA (International Air Transport Association) ที่รัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งต่อมามีแอร์แคนาดา โดยนำมาซึ่งการจัดตั้งเป็นกลุ่มพันธมิตรการบินอย่างเป็นทางการในชื่อ “สตาร์อัลไลแอนซ์” ที่ปัจจุบันนี้ยังคงครองความเป็นหนึ่งด้วยยอดผู้โดยสารมากกว่า 550 ล้านคนต่อปี |
|
|
|
7. อลังการยูนิฟอร์ม ชุดไทยเรือนต้นกับดอกกล้วยไม้กว่าจะมารวมกันอยู่บนเรือนร่างของพนักงานต้อนรับของสายการบินไทยได้นั้น ต้องผ่านการคัดเลือกอย่างพิถีพิถันตังแต่สาวไหมที่ต้องบรรจงสาวให้เป็นเส้นเดียว แล้วใช้ไหมสองเส้นทอควบกับการกระตุกกี่หนึ่งครั้ง เพื่อให้ได้ผ้าไหมที่หนาขึ้น ส่วนลายดอกกล้วยไม้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการบินไทยนั้น จะทออยู่เต็มทั้งผืนผ้าไหม โดยเชิงผฟ้าเน้นเป็ฯลายไทยโบราณและดอกไม้ต่างๆ |
|
8. ม่วงแบบมาดามปอมปาดัวร์ ดอกกล้วยไม้ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของการบินไทยนั้นมีชื่อเรียกว่า “มาดามปอมปาดัวร์” ในแต่ละปีการบินไทยได้แจกมาดามปอมปาดัวร์ให้เป็นที่ระลึกแก่ผู้โดยสารปีละกว่าห้าล้านช่อ ซึ่งสายพันธุ์ของดอกไม้สีม่วงนี้เป็นกล้วยไม้สกุลหวายลูกผสมที่นำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาจากประเทศออสเตรเลียตอนเหนือ นำไปผสมพันธุ์ยังประเทศฝรั่งเศส แล้วนำมาปลูกเลี้ยงในเมืองไทย แถวพุทธมณฑล สามพรานและอ้อมใหญ่ ต้นสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ก้านชูดอกยาว กลีบดอกสีม่วงแดง หัวใจหลักอยู่ที่ต้องตัดสดๆ วันต่อวัน |
|
|